ข้อแตกต่างของกาวซิลิโคน และกาวอะคริลิค พร้อมวิธีการเลือกใช้งานให้เหมาะสม
ข้อแตกต่างของกาวซิลิโคน และกาวอะคริลิค พร้อมวิธีการเลือกใช้งานให้เหมาะสม
ไขข้อข้องใจ ความแตกต่างกาวซิลิโคน VS กาวอะคริลิค ใช้งานอย่างไร ให้เต็มประสิทธิภาพ
กาวซิลิโคน และกาวอะคริลิค เป็นกาวยาแนวที่ใช้เพื่อปิดช่องว่าง หรือรอยต่อต่าง ๆ ภายในอาคาร ด้วยลักษณะภายนอกที่มักจะมาในรูปแบบหลอด รวมถึงมีจุดประสงค์การใช้งานที่ใกล้เคียงกัน หลายคนจึงอาจกำลังสับสนได้ว่ากาวทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร สามารถนำไปใช้กับงานประเภทเดียวกันได้หรือไม่ บทความนี้ ยูเนี่ยน คอนแมท จะมาไขข้อข้องใจเรื่องความแตกต่างระหว่างกาวซิลิโคน และกาวอะคริลิค พร้อมวิธีใช้งานอย่างเหมาะสมให้กับทุกคน เพื่อให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตรงปัญหา และเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
กาวซิลิโคน
กาวซิลิโคน เป็นกาวยาแนวที่มีส่วนประกอบหลักคือโพลีเมอร์ซิลิโคน ประกอบด้วย ซิลิกอน คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีผิวมันวาว เมื่อแห้งแล้วจะมีความแข็งตัวแล้วจะมีความแข็ง และยืดหยุ่นสูงมากถึง 25% สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ โดยนิยมใช้กับงานทั่วไปในครัวเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสามารถใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร โดยเฉพาะรอยต่อ หรือรอยแตกร้าวที่มีการเคลื่อนตัวสูง โดยกาวซิลิโคนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กาวซิลิโคนชนิดเป็นกรด (Acetic Cure Silicone) และกาวซิลิโคนชนิดไม่เป็นกรด (Neutral Cure Silicone)
- กาวซิลิโคนชนิดมีกรด (Acetic Cure Silicone) กาวซิลิโคนชนิดกรดจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่รู้ได้ชัดมากก็คือกลิ่น ในขณะใช้งานจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ฉุนเตะจมูกคล้ายกับน้ำส้มสายชู แต่เมื่อกาวแห้งตัวแล้วกลิ่นเหม็นก็จะหายไป โดยกลิ่นเหม็นนี้มาจากส่วนผสมที่เป็นสารระเหยที่ช่วยให้กาวแห้งตัวเร็ว และมีความแข็งแรงมากเมื่อเทียบกับกาวซิลิโคนแบบไม่มีกรด การใช้งานกาวชนิดนี้ยังมีข้อควรระวังเนื่องจากมีฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุที่นำไปติด ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการติดกระจกเพราะทนต่อสารเคมี กาวซิลิโคนชนิดเป็นกรดเหมาะใช้งานกับพื้นผิวประเภทกระจก เซรามิค ไม้ ไฟเบอร์กลาส และอลูมิเนียม ไม่ควรใช้งานกับพื้นผิวประเภทโลหะ หรือหิน เพราะกรดจะทำปฏิกิริยายากับพื้นผิวจนทำให้กัดกร่อน เกิดรอยด่าง หรือเกิดสนิมได้
- กาวซิลิโคนชนิดไม่เป็นกรด (Neutral Cure Silicone) กาวซิลิโคนชนิดนี้จะไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุ และไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเหมือนกาวซิลิโคนที่เป็นกรด แต่เมื่อเทียบกันแล้วจะแห้งตัวช้ากว่า และแข็งแรงน้อยกว่า แต่ก็มีความยืดหยุ่นที่สูงกว่า เหมาะกับการใช้งานกับพื้นผิวประเภทโลหะ หิน กระจก และอลูมิเนียม
กาวอะคริลิค
กาวอะคริลิค หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าแด๊ป (DAP) คือกาวยาแนวที่มีส่วนประกอบหลักคือโพลีเมอร์อะคริลิค ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย สามารถใช้ได้กับหลายวัสดุ เช่น ซีเมนต์ คอนกรีต หรืออิฐ นิยมใช้ในงานปกปิดรอยภายในอาคารไปจนถึงงานตกแต่งต่าง ๆ เนื่องจากสามารถทาสีทับ และขัดแต่งผิวงานตามต้องการได้ ไม่ทิ้งคราบบนวัสดุที่มีรูพรุน กาวอะคริลิคมีคุณสมบัติยืดหยุ่น แต่รองรับน้ำหนัก และทนต่อความชื้นได้ไม่มากนัก จึงไม่เหมาะกับการใช้งานในบริเวณที่มีแรงสั่นสะเทือน รวมถึงบริเวณที่เปียกชื้น ปัจจุบัน ในท้องตลาดมีกาวอะคริลิคหลายเกรด หลายความยืดหยุ่น และหลายราคาให้เลือกใช้งาน แตกต่างกันที่ส่วนผสมที่เพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ เข้าไป เช่น สารป้องกันรังสียูวี สารป้องกันเชื้อรา สารเพิ่มความยืดหยุ่น เป็นต้น
ข้อแตกต่างของกาวซิลิโคน และกาวอะคริลิค พร้อมวิธีการเลือกใช้งานให้เหมาะสม
- การยึดเกาะ
กาวซิลิโคน: สามารถยึดเกาะได้ดีกับวัสดุที่มีพื้นผิวเรียบ เช่น กระจก เซรามิค ไฟเบอร์กลาส ไม้ และอลูมิเนียม เหมาะกับการใช้เป็นยาแนวรอยต่อระหว่างกระจก และอลูมิเนียม แต่ไม่เหมาะกับพื้นผิวที่มีฝุ่นเกาะอย่างผิวปูน หรือผิวคอนกรีต เพราะกาวซิลิโคนจะไปยึดติดกับฝุ่นแทนพื้นผิววัสดุ ทำให้ประสิทธิภาพในการยึดเกาะลดลง
กาวอะคริลิค: สามารถใช้กับวัสดุทั้งผิวเรียบ และผิวขรุขระ เหมาะสำหรับใช้เป็นยาแนวรอยต่อระหว่างผนังปูนกับวงกบประตู หน้าต่าง ไม้ อลูมิเนียม แต่รับแรงได้น้อยกว่าซิลิโคน จึงไม่ควรใช้ในบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมาก หรือมีแรงสั่นสะเทือน - ความยืดหยุ่น กาวซิลิโคนมีความยืดหยุ่นมากกว่ากาวอะคริลิค โดยกาวซิลิโคนจะยืดหยุ่นประมาณ 25% ในขณะที่กาวอะคริลิคยืดหยุ่นประมาณ 12%
- ความสามารถในการกันน้ำ
กาวซิลิโคน: มีประสิทธิภาพในการกันน้ำ และมีคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อรา สามารถใช้ในงานยาแนวในห้องน้ำ ใช้กับสุขภัณฑ์ ห้องครัว หรือบริเวณที่โดนน้ำได้
กาวอะคริลิค: เนื่องจากกาวอะคริลิคมีส่วนประกอบที่เป็นน้ำทำให้น้ำสามารถซึมผ่านได้ จึงไม่ควรใช้ในบริเวณที่มีความชื้น หรือเปียกแฉะ - ความสามารถในการทาสีทับ
กาวซิลิโคน: ไม่สามารถทาสีทับได้ เนื่องจากเมื่อทาสีทับแล้วสีจะไม่ติดในบริเวณที่ใช้กาว ในท้องตลาดจึงมีกาวซิลิโคนหลายสีให้เลือกตามความเหมาะสม เช่น สีใส สำหรับงานกระจก, สีขาว สำหรับงานสุขภัณฑ์, สีดำ สำหรับพื้นผิวที่มีสีเข้ม เป็นต้น
กาวอะคริลิค: เมื่อแห้งแล้วสามารถขัดแต่งพื้นผิวงาน และทาสีทับได้ กาวอะคริลิคจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นยาแนวรอยร้าวเล็ก ๆ ตามผนังบ้านที่จำเป็นจะต้องทาสีทับในภายหลัง - การทนต่อแสงแดดและรังสียูวี
กาวซิลิโคน: มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศ และรังสียูวี สามารถใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคาร
กาวอะคริลิค: มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมต่ำ ไม่ทนต่อรังสียูวี เหมาะกับการใช้งานภายในอาคารเท่านั้น
จะเห็นได้ว่าแม้กาวทั้งสองประเภทจะดูคล้ายคลึงกัน แต่คุณสมบัติที่โดดเด่นไม่เหมือนกัน และมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน ถึงตรงนี้เชื่อว่าทุกคนจะได้รู้ถึงความแตกต่างระหว่างกาวซิลิโคน และกาวอะคริลิคมากขึ้น รวมถึงรู้วิธีการเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง และเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับผู้ที่กำลังมองหาผู้จำหน่ายกาวซิลิโคน และกาวอะคริลิคคุณภาพ ยูเนี่ยน คอนแมท ก็พร้อมให้บริการสินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อให้ทุกท่านได้รับความคุ้มค่า ความทนทาน จากยาแนวแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสมกัน
ยูเนี่ยน คอมแมท ยินดีให้คำแนะนำ พร้อมให้คำปรึกษาสินค้าประเภทวัสดุยาแนวทั่วไป วัสดุยาแนวกันไฟ เช่น กาวซิลิโคน กาวยาง กาวอะคริลิค (แด๊ป) และสินค้าด้านฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันเสียงคุณภาพจากแบรนด์คุณภาพชั้นนำระดับโลกอย่าง ROCKWOOL ครบวงจร เทปอลูมิเนียม ครอบสันหลังคา ใยแก้ว อลูมิเนียมฟอยล์ แผ่นสะท้อนความร้อน ฟอยล์กันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา โดยให้บริการจำหน่ายทั้งปลีก และส่ง นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิต จำหน่ายหมุด แหวน สำหรับยึดฉนวนในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงเป็นผู้ผลิตผ้าใบต่อท่อดักท์รายแรกในประเทศไทย บริการงานอุปกรณ์ติดตั้ง ท่อลม และท่อดักท์ และ มั่นใจได้ในคุณภาพของสินค้าตลอดอายุการใช้งาน
ติดตามข่าวสาร พร้อมรับโปรโมชั่นและสิทธิประโยชน์พิเศษจากเรา
Line : ucm.123
โทร. 02-467-5103, 02-868-1525, 081-818-7431
อีเมล: sales@unionconmat.co.th, union_conmat@yahoo.com