ฉนวนกันความร้อนให้อาคาร

ข้อควรรู้ ก่อนการติดตั้งฉนวนกันความร้อนให้อาคาร

ข้อควรรู้ ก่อนการติดตั้งฉนวนกันความร้อนให้อาคาร

จะติดตั้งฉนวนกันความร้อนทั้งทีอย่าพลาดบทความนี้! รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อน

เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน อากาศมีอุณหภูมิสูงแทบจะตลอดทั้งปี การติดตั้งวัสดุที่สามารถป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในอาคารอย่าง “ฉนวนกันความร้อน” เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้อุณหภูมิภายในตัวอาคารเย็นลง โดยที่ค่าไฟฟ้าไม่บานปลายจากการเปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศเพียงอย่างเดียว สำหรับใครที่กำลังคิดจะติดตั้งฉนวนกันความร้อน บทความนี้ บริษัท ยูเนี่ยน คอนแมท จำกัด ได้นำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อนมาฝากกัน

ฉนวนกันความร้อนคืออะไร?

ฉนวนกันความร้อน คือวัสดุที่ช่วยกันความร้อนจากอีกฝั่งหนึ่งไม่ให้ส่งผ่านไปยังอีกฝั่ง สกัดความร้อนไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่น ๆ ของอาคาร มีลักษณะเบา ภายในประกอบด้วยฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งมีคุณสมบัติในการกั้นความร้อนให้อยู่ในฟองอากาศ ตัวอาคารจึงมีอุณหภูมิที่เย็นลงได้

นอกจากนี้ ฉนวนกันความร้อนยังมีหลายประเภทให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม เช่น ฉนวนใยแก้ว (Fiberglass) อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) ฉนวนใยหิน ร็อควูล (Rockwool) ฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทน โฟม (Polyurethane Foam) ฉนวนกันความร้อนโพลีเอธิลีน โฟม (Polyethylene Foam) และฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam) เป็นต้น

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนมีกี่แบบ?

วิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนมีความสำคัญมาก เนื่องจากฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทมีประสิทธิภาพในการกันความร้อนที่แตกต่างกัน ถ้าหากนำมาติดตั้งไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้ฉนวนกันความร้อนทำงานได้ไม่เต็มที่ ฉนวนกันความร้อนสามารถติดตั้งได้ทั้งภายใน และภายนอกตัวอาคาร โดยฉนวนกันความร้อนมีวิธีติดตั้ง 3 แบบคือ

  1. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้า
    การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานจะช่วยไม่ให้ความร้อนสะสมอยู่ใต้หลังคา โดยฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งบนฝ้าจะต้องมีความหนา หุ้มด้วยวัสดุที่สามารถกันความชื้นได้ เพื่อป้องกันน้ำที่อาจรั่วซึมลงมาจากหลังคา และต้องมีช่องระบายความร้อนบริเวณชายคาบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมมากเกินไป โดยฉนวนกันความร้อนที่นิยมนำมาติดตั้งบนฝ้าเพดานคือ พอลิเอทิลีนโฟม พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ พอลิยูรีเทนโฟม และฉนวนใยแก้ว
  2. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้แผ่นหลังคา
    ฉนวนกันความร้อนชนิดนี้มักจะติดตั้งมาพร้อมกับการสร้างบ้าน มีประสิทธิภาพในการกันความร้อนที่ดีมากจึงเป็นวิธีการติดตั้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ช่วยทำให้ความร้อนเข้าสู่ใต้หลังคาน้อยลง โดยฉนวนกันความร้อนที่นิยมนำมาติดตั้งใต้หลังคาคือ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น อลูมิเนียมฟอยล์ พอลิเอทิลีนโฟม โพลียูรีเทนโฟม และพอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์
  3. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนหลังคา
    ฉนวนกันความร้อนหลังคา สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า หลังคากันความร้อน เป็นแผ่นสะท้อนความร้อนซึ่งจะสะท้อนไม่ให้ความร้อนเข้าสู่ใต้หลังคาบ้าน มักจะนำมาใช้เพื่อเสริมการติดตั้งฉนวนแบบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การติดฉนวนกันความร้อนด้วยวิธีนี้จะทำให้ตัวฉนวนกันความร้อนสัมผัสกับแสงแดดและอากาศโดยตรง จึงอาจทำให้เสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น และถ้าหากฝนตกก็อาจทำให้เกิดความสกปรกสะสมได้

การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนเป็นวิธีที่มักจะนำมาใช้งานควบคู่กับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนประเภทอื่น ๆ เนื่องจากอลูมิเนียมฟอยล์มีหน้าที่ในการสะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ติดตั้งฉนวนความร้อนชนิดโพลียูรีเทนโฟมที่บริเวณใต้หลังคาเพื่อช่วยหน่วงความร้อนไม่ให้ไหลลงสู่เข้าบ้าน ควบคู่ไปกับการติดตั้งแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ ซึ่งเป็นแผ่นสะท้อนความร้อนไม่ให้ความร้อนเข้าสู่ใต้หลังคา เพื่อเสริมให้ความสามารถในการป้องกันความร้อนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแผ่นสะท้อนความร้อนมีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงสุด 97%

เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไร?

การเลือกฉนวนกันความร้อนให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด ควรพิจารณาจากสภาพการนำความร้อน (K) และประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อน (R) รวมถึงความหนาของฉนวน

  • ค่า K (K-value) คือ สภาพการนำความร้อน หรือ Conductivity มีหน่วยเป็น W/m.k. เป็นค่าที่บอกถึงคุณสมบัติในการนำความร้อนว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งถ้าฉนวนกันความร้อนนั้นมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำ ความร้อนก็จะผ่านตัวฉนวนเข้ามาที่ตัวบ้านได้น้อยลง
  • ค่า R คือ ค่าความต้านทานความร้อนของฉนวน หรือ Resistivity มีหน่วยเป็น m2K/W ซึ่งตัวเลขที่กำกับไว้เป็นตัวบอกว่าฉนวนชนิดนั้นสามารถต้านทานความร้อนที่เข้ามาแค่ไหน ฉนวนที่มีค่า R มาก จะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดี

ดังนั้น ฉนวนกันความร้อนที่ดีจะต้องมีสภาพการนำความร้อนต่ำและมีค่าต้านทานความร้อนสูง หรือให้เข้าใจง่าย ๆ คือ “มีค่า K ต่ำ และ ค่า R สูง” นอกจากนี้ เรื่องของความหนา (Thickness) ก็มีผลต่อความสามารถในการกันความร้อนเช่นกัน โดยฉนวนยิ่งหนาก็ยิ่งมีค่าต้านทานความร้อน (R) ที่สูง จึงยิ่งสามารถป้องกันความร้อนได้ดี แต่ก็ไม่ควรเลือกฉนวนกันความร้อนที่หนามากจนเกินไป

ควรดูแลฉนวนกันความร้อนอย่างไร?

การดูแลฉนวนกันความร้อนสามารถทำได้ด้วยการหมั่นตรวจเช็คสภาพของฉนวนกันความร้อน และพื้นที่โดยรอบว่ามีอะไรชำรุดเสียหายหรือไม่ เพื่อให้สามารถซ่อมแซมได้อย่างทันท่วงที ควรทำความสะอาดทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ และแมลงต่าง ๆ นอกจากนี้ยังควรเปลี่ยนฉนวนกันความร้อนใหม่ทุก 10 – 15 ปีตามสภาพการใช้งาน ซึ่งถ้าหากบ้านมีอุณหภูมิความร้อนสูง หรือมีความชื้นมาก ๆ อายุการใช้งานของฉนวนกันความร้อนก็จะน้อยลงไปด้วย

ข้อควรระวังในการติดตั้งฉนวนกันความร้อน

นอกจากรู้วิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน และวิธีการดูแลรักษาแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ควรรู้ก่อนจะติดตั้งฉนวนกันความร้อน ดังนี้

  • พื้นที่ในการติดตั้ง
    ควรคำนวณพื้นที่ในการติดตั้งก่อนจะเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด ควรเลือกฉนวนกันความร้อนที่มีความหนาประมาณ 6 นิ้ว โดยปกติแล้วฉนวนกันความร้อนจะหนึ่งม้วนจะมีพื้นที่ 2.4 ตารางเมตร โดยประมาณ
  • บริเวณที่เกิดความร้อน
    ก่อนติดตั้งฉนวนกันความร้อน ให้สังเกตบริเวณที่มีแสงแดดส่องลงมาสู่ตัวบ้าน ว่าบริเวณไหนเกิดความร้อนมากที่สุด เพื่อให้สามารถลงงบประมาณในการติดตั้งให้ถูกต้อง โดยต้องเลือกฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพในการกันความร้อนสูงที่สุด และมีคุณภาพสูงมาติดตั้งในบริเวณที่มีแสงส่องลงมามาก จากนั้นจึงค่อยติดตั้ง และแก้ไขในบริเวณอื่น

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเรื่องน่ารู้ของฉนวนกันความร้อนที่ บริษัท ยูเนี่ยน คอนแมท จำกัด นำมาฝาก สำหรับคนที่อยากจะติดตั้งฉนวนกันความร้อนในบ้าน หรืออาคารก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ เพื่อจะได้นำไปเลือกฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม รับรองว่าคุณจะมีบ้านที่เย็นสบาย ไม่หวั่นเรื่องค่าไฟแม้จะอากาศร้อน และถ้าหากคุณกำลังมองหาฉนวนกันความร้อน เรายินดีให้คำปรึกษา โดยทีมงานมืออาชีพ

 

บริษัท ยูเนี่ยน คอมแมท จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าประเภทฉนวนกันความร้อนอย่างครบวงจร อาทิ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ แผ่นสะท้อนความร้อน ฉนวนกันเสียง ฟอยล์กันความร้อนคุณภาพจาก ROCKWOOL นอกจากนี้เรายังจำหน่ายสินค้าวัสดุยาแนวทั่วไป และวัสดุยาแนวกันไฟ รวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้ง ท่อน้ำ ท่อลม และท่อดักท์ ไม่ว่าจะเป็นกาวซิลิโคน กาวยาง กาวอะคริลิค (แด๊ป) เทปอลูมิเนียม ครอบสันหลังคา หมุด แหวน สำหรับยึดฉนวนในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงเป็นผู้ผลิตผ้าใบต่อท่อดักท์รายแรกในประเทศไทย บริการแนะนำ และให้คำปรึกษาการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ ใส่ใจในทุกรายละเอียดการบริการ มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถใช้งานสินค้าทุกชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน

 

ติดตามข่าวสาร พร้อมรับโปรโมชั่นและสิทธิประโยชน์พิเศษจากเรา

Line : ucm.123
โทร. 02-467-5103, 02-868-1525, 081-818-7431
อีเมล: sales@unionconmat.co.th, union_conmat@yahoo.com

 

 

Share this post

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart

No products in the cart.